เมนู

9. อรณวิภังคสูตร



[653] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัส
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
อรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก
กล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธ
เจ้าข้า.
[654] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนือง ๆ
ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระ-
อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร
เครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้นั้น อัน
ตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็น
ไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. พึงรู้
จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดง
แต่ธรรมเท่านั้น พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
ความสุขภายใน ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า พึง
เป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วง
เลยคำพูดสามัญเสีย นี้อุเทศแห่งอรณวิภังค์.

[655] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขอาศัย
กามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตน
ให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุข
โดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ
มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด. การไม่ตามประกอบ ความประกอบ
เนืองๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรม
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความ
ปฏิบัติชอบ. ความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของ
พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความ
แค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด. การไม่ตามประกอบความเพียร
เครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่
มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่
ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความ
เพียรเครื่องประกอบคนให้ลำบาก อัน เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ นั้น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.
[656] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้
ที่สุด 2 อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้

มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว มรรคมีองค์ 8 อัน
ประเสริฐนี้แล คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ
การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ข้อ
ที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้นั้น อัน
ตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ
ในรูปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น
เราอาศัยมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐดังนี้ กล่าวแล้ว.

ความยกย่องเป็นต้น


[657] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเป็นการยกย่อง เป็นการ
ตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม คือ เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดตามประกอบ
ความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ ชนเหล่านั้น ทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มี
ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุข
โดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ
ไม่มีความแค้นใจ ไม่ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่ายกย่อง
ชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่อง